top of page

ความเปราะบางของคุณภาพกาแฟต่อการเปลี่ยนแปลงด้านสิ่งแวดล้อม 🌱

New Study Reveals Vulnerability of Coffee Quality

to Environmental Shifts and Management Practices


เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2564 นักวิจัยจาก Montana State University (MSU), Tufts University และ Specialty Coffee Association (SCA) ได้ตีพิมพ์ผลงานในเรื่องของคุณภาพกาแฟที่มีผลจากการเปลี่ยนแปลงของปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม ที่เกี่ยวข้องกับสภาพอากาศ



งานวิจัย Climate Change and Coffee Quality: Systematic Review on the Effects of Environmental and Management Variation on Secondary Metabolites and Sensory Attributes of Coffea arabica and Coffea canephora ถูกตีพิมพ์อยู่ในวารสาร Frontiers in Plant Science (www.frontiersin.org) ในเดือนนี้


ดร. Selena Ahmed, Associate Professor สาขา Health and Human Development ของมหาวิทยาลัย MSU และเป็นหนึ่งในผู้เขียนหลักบอกว่า “งานวิจัยที่ผ่านมาได้มุ่งเน้นถึงการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศว่ามีผลอย่างไรต่อผลผลิต แต่งานล่าสุดชิ้นนี้ ได้ชี้ให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศที่ส่งผลต่อผลผลิตและองค์ประกอบทางชีวเคมีได้อย่างไร ซึ่งมีผลต่อรสชาติกาแฟ รวมไปถึงสารอาหาร และคุณสมบัติที่มีผลต่อสุขภาพของผู้บริโภค"


“สารประกอบทางชีวเคมีทั้งหมดในเมล็ดกาแฟนั้น สำคัญต่อคุณภาพของกาแฟเป็นอย่างมาก” เธอกล่าว “การเปลี่ยนแปลงในองค์ประกอบทางชีวเคมีของกาแฟจะย้อนกลับมาในระบบวงจรอาหาร ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อผู้บริโภคในเรื่องของรสชาติและการตัดสินใจในการเลือกซื้อ จากนั้นก็จะส่งผลต่อความเป็นอยู่ของชาวไร่ชาวสวน ซึ่งรวมไปถึงวิธีการบริหารจัดการไร่ที่เกี่ยวข้องกับความยั่งยืนอย่างมหาศาล”


ทีมวิจัยรวมถึงผู้ช่วยนักเขียนจาก MSU, Tufts, SCA และทีมงานจาก Coffee Science Foundation และ Bozeman-based Treeline Coffee ซึ่งประกอบไปด้วย Sarah Brinkley, Erin Smith, Ariella Sela, Mitchell Theisen, Cyrena Thibodeau, Teresa Warne, Evan Anderson, Natalie Van Dusen, Peter Giuliano, Kim Elena lonescu และ Sean B. Cash บัณฑิตจากมหาวิทยาลัย MSU หลักสูตร Sustainable food systems, Friedman School of Nutrition Science and Policy ที่ Tufts University และ Texas A & M University ต่างก็ได้มีส่วนร่วมกับงานวิจัยชิ้นนี้ด้วยเช่นกัน


ในการค้นคว้าครั้งนี้ นักวิจัยได้คัดเลือกผลงานกว่า 1.600 ผลงาน ที่ได้ถูกตีพิมพ์ขึ้นในระหว่างปี 2543 จนถึงปี 2561 พวกเขาบอกว่ากว่า 73 ชิ้นจากผลงานวิจัยนั้น ถูกนำไปใช้อยู่ในงานชิ้นนี้ด้วย



Sarah Brinkle บัณฑิตจากมหาวิทยาลัย Texas A&M และผู้ช่วยนักเขียน รวมถึงทีมวิจัย ค้นพบ 2 แนวโน้มที่ชัดเจน ได้แก่ การเพิ่มระดับพื้นที่ของสวนให้สูงขึ้น ก็จะช่วยพัฒนารสชาติและกลิ่นของกาแฟได้ และการเพิ่มแสงก็จะช่วยลดการรับความรู้สึกต่อสิ่งต่างๆ (sensitive) ของกาแฟได้ พวกเขายังค้นพบอีกว่า การเปลี่ยนแปลงของความชื้น อุณหภูมิ ระดับคาร์บอนไดออกไซด์ในอากาศ สารอาหารและแร่ธาตุ ต่างก็มีผลสำคัญต่อกาแฟอีกด้วย


“ชาวสวนกาแฟได้บอกกับผู้ซื้อเป็นระยะเวลาหลายปีแล้วว่า สภาพภูมิอากาศกำลังเปลี่ยนไป และมันทำให้งานของพวกเขายากขึ้นด้วย ผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงที่มีผลต่อรสชาติกาแฟนั้น เป็นไปตามการคาดคะเน” Kim Elena Ionescu, Chief Sustainability and Knowledge Development Officer at the SCA กล่าว


Erin Smith ซึ่งเป็นศิษย์เก่าของมหาวิทยาลัย MSU จากคณะ Sustainable Food Systems และเป็นผู้ช่วยนักเขียนงานวิจัยชิ้นนี้บอกว่า มีงานวิจัยอีกมากมายที่ต้องการพื้นที่ส่วนนี้ในการเรียนรู้เกี่ยวกับผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงของคาร์บอนไดออกไซด์ ความชื้น และอุณหภูมิ ที่มีผลต่อคุณภาพของกาแฟ เช่นเดียวกับการเปลี่ยนสถานที่ ระดับความสูง และเงื่อนไขการจัดการต่างๆ


Ahmed กล่าวว่าทางทีมวิจัยยังค้นพบอีกว่า การปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศของไร่กาแฟทั่วโลก เช่น การควบคุมปริมาณแสง การรักษาระดับความสูงของต้นไม้ในสวน รวมถึงระบบนิเวศในพื้นที่นั้น เป็นสัญญาณที่ดีสำหรับการรักษาและพัฒนาคุณภาพของกาแฟ ซึ่งแผนการเหล่านี้ สามารถช่วยเหลือชาวสวนกาแฟให้มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นได้


“ความเข้าใจที่ดีขึ้นของความสัมพันธ์ระหว่างสภาพภูมิอากาศกับกาแฟนั้น มีความจำเป็นต่ออุตสาหกรรมกาแฟชนิดพิเศษ เพื่อที่จะปรับตัวให้เข้ากับปัญหาที่กำลังเผชิญและการเติบโตในวันข้างหน้าได้” Peter Giuliano, ผู้บริหาร Coffee Science Foundation กล่าว



มันเป็นเรื่องสำคัญอย่างมากสำหรับความเข้าใจการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศมีผลต่อพืชผล ดังนั้นการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ สามารถจัดการรับมือได้โดยการส่งเสริมทางด้านความปลอดภัยของพืชผล สารอาหาร และชีวิตความเป็นอยู่ของชาวสวน Ahmed กล่าวว่า


“มันสำคัญที่จะต้องเรียนรู้เรื่องพวกนี้สำหรับอาหารและเครื่องดื่มทุกชนิด ไม่ใช่แค่เฉพาะกาแฟอย่างเดียว

เราสามารถมีระบบวงจรอาหารที่ดีขึ้นได้จากความเข้าใจและการจัดการด้านองค์ประกอบ

ทางชีวเคมีของพืชผลร่วมไปกับปัจจัยความยั่งยืนอื่นๆ”


ขอบคุณข้อมูลจาก Specialty Coffee Association

 

Coffee Traveler เป็นนิตยสารรายสองเดือน

ที่จัดพิมพ์ขึ้นเพื่อเป็นการส่งผ่านความรู้ทางด้านกาแฟ

และเสริมมุมความคิดในด้านธุรกิจกาแฟ

- - -

สมัครสมาชิกนิตยสารได้ที่ : IN BOX Facebook Coffee Traveler

Youtube : Coffee Traveler

149 views0 comments
bottom of page